การดูแลรักษากระดูกเสื่อม
การดูแลรักษากระดูกเสื่อม |
การดูแลรักษากระดูกเสื่อม
สามารถทำได้หลายวิธี และอาหารเสริมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยม
อาหารเสริมช่วยบำรุงกระดูกและลดอาการกระดูกเสื่อม |
อาหารเสริมบางชนิดอาจช่วยบำรุงกระดูกและลดอาการกระดูกเสื่อมได้ และกลุ่มอาหารบำรุงกระดูกและข้อ ดูแลป้องกัน ดีต่อโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน
แหล่งอาหารบำรุงกระดูกและข้อ เสริม สร้าง ดูแลกระดูกและข้อต่อให้แข็งแรงสมวัย
• แคลเซียม: เป็นแร่ธาตุหลักที่สำคัญต่อกระดูก จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุน
➥ เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 ➥ แคล-ดี-แมก 600 ➥ งาดำ เซซามิ-เอส
• แมกนีเซียม: เสริมความแข็งแรงของกระดูก หากแคลเซียมคือพระเอก แมกนีเซียมก็ต้องเป็นคู่หูที่ขาดกันไม่ได้ เพราะทั้งคู่จะคอยช่วยเหลือและแท็กทีมทำหน้าที่ควบคู่กันอยู่เสมอ โดยแคลเซียมจะทำหน้าที่สร้างกระดูก ส่วนแมกนีเซียมก็จะทำหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกนั่นเอง
➥ ไบโอ แมกนีเซียม พลัส
• วิตามินดี และวิตามินเค: คู่หูที่ส่งเสริมสุขภาพกระดูกและหัวใจและหลอดเลือด
- วิตามินดี: ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น และมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพกระดูก
- วิตามินเค (Vitamin K): ช่วยบำรุงกระดูก สร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อกระดูก และอาจช่วยลดความเสี่ยงของกระดูกหัก
➥ เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3
• คอลลาเจนชนิดที่ 2 (Collagen Type II): เป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกอ่อน ช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมกระดูกอ่อนที่สึกหรอ เสริมสร้างเซลล์ข้อต่อ
➥ ยูซี-ทู หรือ ยูซี-ทู โกลด์ ➥ ซิงก์ แอนด์ คอลลาเจน
• กลูโคซามีนและคอนดรอยติน: เป็นสารที่พบในกระดูกอ่อน ช่วยลดอาการปวดและข้อแข็งในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
➥ คอลลาสติน
• กรดไขมันโอเมก้า-3: ลดการอักเสบ เสริมสร้างข้อต่อ โอเมก้า-3 เป็นแหล่งสร้างคอลลาเจน ซึ่งไม่เพียงช่วยเสริมสร้างข้อต่อและกระดูกอ่อนต่างๆ เท่านั้น แต่ยังช่วยลดอาการปวดหรืออาการอักเสบตามข้อต่อต่างๆ ได้อีกด้วย
➥ เอ แอล เอ มัลติ แพลนท์ โอเมก้า 3 พลัส
• แมงกานีส ทองแดงและซิงค์: ช่วยพัฒนา เสริมสร้าง ซ่อมแซมกระดูกและลดการสูญเสียแคลเซียม เพื่อรักษาให้กระดูกแข็งแรงอยู่เสมอ
➥ ไบโอ แมกนีเซียม พลัส ➥ ซิงก์ แอนด์ คอลลาเจน
คำแนะนำเพิ่มเติม:• ก่อนเริ่มรับประทานอาหารเสริมใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารเสริมนั้นเหมาะสมกับสภาพร่างกายและโรคประจำตัวของคุณ• การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผักใบเขียว นม และผลิตภัณฑ์จากนม ก็เป็นสิ่งสำคัญในการบำรุงกระดูก• การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การว่ายน้ำ หรือการยกน้ำหนักเบาๆ ก็มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก• นอกจากอาหารเสริมแล้ว การได้รับแสงแดดอ่อนๆในตอนเช้า หรือตอนเย็น ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์วิตามิน D ได้
การออกกำลังกายเสริมความแข็งแรงของกระดูกสำหรับผู้สูงอายุ |
การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้ที่เป็นโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุนหรือผู้ที่ต้องการจะป้องกันการเกิดโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน มีหลายประเภทดังนี้
1. การออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก (Weight bearing exercise)
• เป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูกโดยตรง เพราะการที่มีน้ำหนักกดลงบนกระดูกเป็นการกระตุ้นให้แคลเซียมกลับเข้าไปในกระดูกได้มากขึ้น ส่งผลให้กระดูกหนาตัวขึ้น เป็นการกระตุ้นการสร้างและยับยั้งการสลายของกระดูก เช่น การเดิน การขึ้นลงบันได วิ่งเหยาะ ๆ เต้นรำ เต้นแอโรบิค เดินในน้ำ วิ่งในน้ำ กระโดดในน้ำ หรือการกระโดดเชือก เป็นต้น2, 3, 4 ทั้งนี้สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าหรือข้อสะโพกต้องหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูง เช่น การเดินขึ้นลงบันได การวิ่งเหยาะ ๆ หรือการกระโดดเชือก เป็นต้น
• ความถี่ในการออกกำลังกายประเภทนี้อยู่ที่ 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ หากไม่สามารถออกกำลังกายต่อเนื่องได้ 30 นาที สามารถแบ่งเป็น 10 นาที 3 รอบต่อวัน หรือ 15 นาที 2 รอบต่อวันได้เช่นกัน
2. การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening exercise)
• เป็นการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแต่ละมัด แรงดึงของกล้ามเนื้อจะช่วยกระตุ้นการสร้างมวลกระดูกได้ สามารถทำได้เกือบทุกส่วนของร่างกายเช่น แขน ขา ทำการเกร็งโดยใช้น้ำหนักและแรงโน้มถ่วงของตัวเอง หรือใช้น้ำหนักถ่วง
กลุ่มอาหารสำคัญช่วยป้องกันโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน
• กลุ่มปลาทะเล ปลาเล็กปลาน้อย และกุ้งแห้ง
• กลุ่มนมและโยเกิร์ต
• กลุ่มผลไม้ กีวี กล้วย และมะละกอ
• กลุ่มถั่วเมล็ดแข็ง พืชตระกูลถั่ว งาดำ และเต้าหู้ก้อน
• กลุ่มผักตระกูลกะหล่ำ
กลุ่มอาหารสำคัญช่วยป้องกันโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน |
กลุ่มอาหารบำรุงกระดูกและข้อ ดูแลป้องกัน
ดีต่อโรคกระดูกเสื่อม กระดูกพรุน
ღ #เลือกดูแลสุขภาพที่ดีได้ด้วยตัวคุณ ღ
⛛│กดดูสินค้า│กดดูสั่งซื้อ│⛛
1. HMB พลัส วิตามินดี | 2. แคล-ดี-แมก 600 |
3. งาดำ เซซามิ-เอส | 4. ไบโอ แมกนีเซียม พลัส |
5. ยูซี-ทู | 6. ยูซี-ทู โกลด์ |
7. คอลลาสติน | 8. ALA มัลติ แพลนท์ โอเมก้า 3 พลัส |
9. ซิงก์ แอนด์ คอลลาเจน | 10. น้ำมันปลา |