💔โรคหัวใจ [Heart Disease]
อาการเป็นแบบไหน อาการเตือนโรคหัวใจ อาการเสี่ยงโรคหัวใจ วิธีรักษาและปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคหัวใจ รักษาโรคหัวใจด้วยตัวเองอย่างไร การป้องกันเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจหายได้ไหม เป็นโรคหัวใจไม่รู้ตัว
💔อาการของโรคหัวใจ
➢ เจ็บหน้าอกเมื่อมีการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมาก
➢ หอบ เหนื่อยง่าย
➢ ใจสั่น
➢ ขาบวม มักเป็นตอนสายๆ เกิดจากหัวใจข้างขวาทำงานลดลง ทำให้การไหลเวียนเลือดที่ขาไม่ดี
➢ เป็นลมวูบ หมดสติ
◉ ภาวะแทรกซ้อน
➢ หัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) เกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงได้ทั่วร่างกาย ทำให้เกิดการคั่งของเลือดที่หัวใจ ปอด และอวัยวะต่างๆ
➢ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับกระแสไฟฟ้าในหัวใจเนื่องจากความเสียหายของหัวใจ
➢ ลิ้นหัวใจรั่ว
➢ หลอดเลือดสมองอุดตัน ทำให้เป็นอัมพาต
ผู้ที่มีโอกาส!! ปัจจัยเสี่ยง
💔โรคหัวใจ หรือ Heart Disease
◉➤ปัจจัยเสี่ยงหลัก
☛ไขมันในเลือดสูง ผู้ที่มีระดับไขมัน LDL คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ไขมันทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นและหลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนน้อยลง ในที่สุดหลอดเลือดหัวใจก็อุดตันและเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย
☛ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานหลายปี ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดมาเลี้ยงร่างกาย กล้ามเนื้อหัวใจจะหนาขึ้น หัวใจจะโตขึ้น หลอดเลือดตีบแข็งและอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย และนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด
☛ผู้ที่สูบบุหรี่ สารที่อยู่ภายในบุหรี่จะทำให้เซลล์ที่เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสื่อม ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน ซึ่งนำไปสู่สภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
◉➤ปัจจัยเสี่ยงรอง
☛ผู้ชายที่อายุมากกว่า 40 ปี และ ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี
☛มีประวัติในครอบครัว
☛เป็นโรคเบาหวาน ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ เสื่อมลง
☛ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ และยังช่วยควบคุมปัจจัยความเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิต ระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด เบาหวาน และน้ำหนักที่มากเกินหรืออ้วน
☛น้ำหนักเกินมาตรฐาน คนอ้วน ผู้ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 กิโลกรัม / ส่วนสูง (เมตร)2 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ โดยสามารถคำนวณดัชนีมวลกายได้จากน้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลัง 2
☛ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
☛ภาวะเครียด ผู้ที่มีความเครียดเรื้อรัง
☛กินอาหารไม่มีประโยชน์
💖หัวใจ
เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หัวใจมนุษย์ปกติเต้น 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นประมาณ 2,500 ล้านครั้งในช่วงอายุเฉลี่ย 66 ปี และสูบเลือดประมาณ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที หนักประมาณ 250 ถึง 300 กรัมในหญิง และ 300 ถึง 350 กรัมในชาย
💓หน้าที่หลักของหัวใจ
คือการสูบฉีดเลือดผ่านระบบไหลเวียนเพื่อไปเลี้ยงร่างกายทั้งร่าง การไหลเวียนนี้แบ่งออกเป็นการไหลเวียนเลี้ยงกายที่ส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายและรับเลือดที่ใช้แล้วกลับ และการไหลเวียนผ่านปอด ซึ่งส่งเลือดไปฟอกที่ปอดและรับเลือดกลับจากปอดมาหัวใจเพื่อเตรียมสูบฉีดต่อไปยังร่างกาย ขณะที่เลือดไหลเวียนผ่านปอดจะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซ รับเอาออกซิเจนเข้ามาในเลือด และส่งคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปยังปอดผ่านการหายใจ หลังจากนั้นระบบไหลเวียนกายจะส่งเลือดแดงที่มีออกซิเจนมากไปยังร่างกาย และรับเลือดดำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์มากและมีออกซิเจนน้อยกลับมายังปอด
ღღ เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจ มี 2 เส้นหลัก ได้แก่
1. เส้นเลือดหัวใจด้านขวา
2. เส้นเลือดหัวใจด้านซ้าย ซึ่งแตกแขนงใหญ่ออกเป็น 2 แขนง คือ
➤ แขนงซ้ายที่มาด้านหน้า (Left anterior descending artery)
➤ แขนงซ้ายที่อ้อมไปด้านหลัง (Left circumflex artery)
◉ พลาค (Plaque) ภัยร้ายของหลอดเลือด
➤ พลาคเป็นคราบที่เกิดจากการสะสมของคลอเลสเตอรอลชนิดเลว (LED) แคลเซียม และสารต่างๆ ในเลือด เช่น เม็ดเลือดขาว
➢ เมื่อเลือดเรา มี LED มาก ร่วมกับภาวะการอักเสบของผิวหนัง หลอดเลือดแดง จะทำให้เกิดการสะสมของคราบพลาค ที่ผนังหลอดเลือด
💔โรคหัวใจ หรือ Heart Disease หมายถึง
โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยความผิดปกติที่เกิดขึ้นในส่วนของหัวใจที่ต่างกัน ทำให้โรคหัวใจมีอาการต่างกันไปในแต่ละชนิดดังนี้
➣ โรคหลอดเลือดหัวใจ เจ็บหรือแน่นหน้าอก ร้าวไปตามกราม แขน ลำคอ เหนื่อย อ่อนเพลีย หรือหมดสติได้
➣ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจอาจเต้นเร็วหรือช้ากว่าผิดปกติ ใจสั่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก เวียนศีรษะ หรือคล้ายจะเป็นลม
➣ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ เหนื่อยง่าย หายใจไม่อิ่ม มักมีอาการมากขึ้นเมื่อต้องออกแรงหนัก ๆ บวมตามแขน ขา นอนราบไม่ได้ และตื่นขึ้นมาไอในเวลากลางคืน
➣ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เป็นโรคที่เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อทารกอยู่ในครรภ์มารดาทารกมีอาการเหนื่อยขณะให้นม เลี้ยงไม่โต
➣ โรคลิ้นหัวใจ หากมีความผิดปกติของลิ้นหัวใจมาก จะมีอาการเหนื่อยง่าย และเกิดภาวะหัวใจวายหรือน้ำท่วมปอดได้
➣ โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจหอบเหนื่อย ไอเรื้อรังแห้ง ๆ ขาหรือช่องท้องบวม รวมถึงมีผื่นหรือจุดขึ้นตามผิวหนัง
💔โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Artherosclerosis)
➤ คือโรคที่มีการสะสมของพลาคที่ผนังหลอดเลือดทำให้เลือดมีลักษณะแข็ง ไม่ยืดหยุ่น และมีช่องว่างลดลง หรือตีบตัน
➢ ถ้าเกิดที่หลอดเลือดหัวใจก็จะทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบ
💔หลอดเลือดอุดตัน
➤ เมื่อหลอดเลือดมีการสะสมของพลาคมากขึ้นเรื่อยๆ จนเหลือช่องว่างมากกว่า 50% จะทำให้ความเร็วในการไหลเวียนของเลือดเพิ่มขึ้น และไปกระแทกผนังหลอดเลือด หรือหลุดเข้าไปในกระแสเลือด และไปอุดตันเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะอื่นๆ ได้
💔กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Heart Attack)
➤ คือภาวะที่เกิดจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอุดตัน จนเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้ จึงทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายในบริเวณที่เลือดไปเลี้ยงไม่ถึง
◉ การรักษา 🩺
➤ การรักษาตามอาการ
➢ ให้ยาตามอาการโรค เช่น ยาขยายหลอดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ ยาลดระดับไขมันในเลือด ยาลดความดันเลือด และยาขับปัสสาวะในกรณีมีภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นต้น
➤ การขยายหลอดเลือดที่ตีบตันโดยการไม่ผ่าตัด
➢ การผ่านสายสวน (Percutaneous Coronary Intervention) โดยใช้บอลลูน (Balloon Angioplasty) หรือ ขดลวด (Stent)
➤ การรักษาโดยการผ่าตัด
➢ การทำบายพาส (Coronary Artery Bypass Graft)
◉ การป้องกัน
➢ ควบคุมระดับไขมัน และน้ำตาลในเลือด
➢ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ
➢ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
➢ ทำจิตใจให้สบายไม่เครียด
➢ ควบคุมน้ำหนัก
➢ รับประทานอาหารให้หลากหลาย ครบหมู่ และสมดุล
◉ดูแลสุขภาพป้องกันไม่ให้เสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ กินอะไรดี?
#ไม่อยากหัวใจอ่อนแอ!!
#อาหารเพื่อสุขภาพ และสมุนไพรช่วยดูแลหัวใจ ทางเลือกหนึ่งที่อาจลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะโรคหัวใจได้ ◎➢
☛กระเทียม ☛พริก ☛ขิง ☛ใบแปะก๊วย ☛ใบบัวบก ☛มะเขือเทศ ☛น้ำสมุนไพรรวมจากสมุนไพรฤทธิ์เย็น, เย็นกลาง, ร้อน, อุ่น ☛น้ำมันปลา ☛ไฟโตสเตอรอล ☛AstaQ ☛วิตามินรวมและแร่ธาตุ (ชาย) ☛วิตามินรวมและแร่ธาตุ (หญิง) ☛โคลีนและวิตามิน บี ☛งาดำ ☛ทับทิม ☛น้ำทับทิม ☛น้ำมันจมูกข้าว
◎➢ อาหารสุขภาพที่แนะนำ ที่จะไม่รบกวนกับยาละลายลิ่มเลือดใดๆ สามารถรับประทานร่วมกันได้โดยปลอดภัย
➢ น้ำมันจมูกข้าวและไฟโตสเตอรอล ช่วยลดไขมันในเลือด
➢ งาดำ ช่วยลดการเกิดตะกอน (Plaque) ในผนังเลือด
กระเทียม การ์ลีซีน (Garlicine) |
สารสกัดจากขิง จินเจอร์-ซี (GINGER-C) |
ใบแปะก๊วย จิงโกลา (Ginkola) |
สารสกัดจากใบบัวบก โกตูลา ซี-อี (Gotula C-E) |
มะเขือเทศ ไลโคพีน (Lycopene) |
3 |