◉ โรค NCDs คืออะไร?
◎ โรค NCDs ย่อมาจาก Non-Communicable diseases
เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือเรียกว่าเป็นกลุ่มโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค และไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัย พฤติกรรมการดำเนินชีวิต การกิน การนอน การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการทำงานต่าง ๆ
• โรคกลุ่ม NCDs บางครั้งก็อาจจะเรียกว่า โรคที่เราสร้างขึ้นมาเอง
มีการดำเนินโรคอย่างช้า ๆ ค่อย ๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง ค่อย ๆ ทวีความรุนแรง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วหากไม่ได้รับการรักษาหรือดูแลอย่างถูกต้องและทันเวลาแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้ เช่น ➢ โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด ➢ โรคความดันโลหิตสูง ➢ โรคหลอดเลือดหัวใจ ➢ โรคหลอดเลือดสมอง ➢ โรคเบาหวาน ➢ โรคมะเร็งต่างๆ ➢ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง ➢ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ➢ ถุงลมโป่งพอง ➢ โรคไตเรื้อรัง ➢ โรคอ้วนลงพุง ➢ โรคตับแข็ง และโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) เป็นต้น
◉ โรคในกลุ่มโรค NCDs ที่พบมากในคนไทย ได้แก่...
➥โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่วัดระดับความดันโลหิตได้มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg➥โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังอีกโรคหนึ่ง เสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะไตวายได้
➥โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ซึ่งอาจจะไม่มีอาการเตือนมาก่อน พอมีอาการอาจทำให้มีอาการรุนแรง เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้
➥โรคหลอดเลือดสมอง ถือว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของคนไทย โดยมักจะพบในกลุ่มคนอายุมากกว่า 45 ปี และมักมีโรคร่วม เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง พฤติกรรมการสูบบุหรี่จัด อาการที่ต้องสังเกต เช่น แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก ปวดศีรษะเฉียบพลัน วูบแบบเฉียบพลัน
➥โรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งมักจะสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ อาการจะมีอาการไอเรื้อรัง แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี้ด เป็นต้น
➥โรคมะเร็ง เป็นอีกโรคหนึ่งที่พบว่าอัตราการเสียชีวิตของคนไทยเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจมีหลายปัจจัย เช่น พันธุกรรม การได้รับสารเคมี โดยโรคจะแสดงอาการค่อนข้างช้า และหากแสดงอาการ มักจะเป็นระยะที่ค่อนข้างเป็นมากแล้ว
➥โรคอ้วนลงพุง ผู้ที่มีปัญหาอ้วนลงพุง มักจะมีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆตามมาได้
◉ สาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs
◉ พฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ในการใช้ชีวิตที่เป็นตัวการก่อโรค NCDs เป็นสาเหตุของการป่วยได้มากกว่าคนอื่น ๆ เป็นต้นว่า...➥ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง แป้ง น้ำตาล มากเกินความจำเป็น
➥การรับประทานอาหารปิ้งย่าง มากเกินความจำเป็น
➥รับประทานอาหารรสเค็มจัด หวานจัด
➥รับประทานผักและผลไม้น้อย
➥กิจกรรมในแต่ละวันน้อยไม่เพียงพอ
➥ทำงานนั่งโต๊ะตลอดทั้งวัน
➥การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก
➥สูบบุหรี่เป็นประจำ
➥ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
➥การมีความเครียดสูงสะสม ไม่สามารถจัดการความเครียดของตนเองได้
➥การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์
◉ การป้องกันลดความเสี่ยงโรค NCDs
ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเรา นั่นก็คือ ➢ การปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ➢ ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ ➢ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ➢ ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ➢ หากมีอาการผิดปกติใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์◎ การปรับพฤติกรรม ด้วย 3 อ & 2 ส
➥อาหาร : รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้ ที่รสไม่หวาน รับประทานอาหารรสชาติพอดี หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน เลือกปรุงอาการด้วย ต้ม ตุ๋น นึ่ง อบ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หลีกเลี่ยงอาหารปิ้งย่าง➥อารมณ์ : ลดความเครียด หาวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ พูดคุยพบปะเพื่อน อ่านหนังสือ เล่นกีฬา ท่องเที่ยว
➥ออกกำลังกาย : เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่นการขึ้นลงบันได แทนการใช้ลิฟต์ การออกกำลังกายเพื่อให้ได้ความแข็งแรงของหัวใจและหลอดเลือด คือการออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลาง 150 นาที ต่อสัปดาห์ หรืออย่างน้อย 30นาที/วัน 5 วันต่อสัปดาห์ เช่นการเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน
➥ส : ลดดื่มสุรา : หลีกเลี่ยงการดื่มหรือจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์ที่จะดื่ม
➥ส : งดสูบบุหรี่ :
{fullWidth}